วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล

 ดีวีดี
    สามารถบันทึกข้อมูลวิดีโอที่ความละเอียดสูงได้ถึง 120 นาที

การบีบอัดของวิดีโอในรูปแบบ MPEG-2 นั้นมีอัตราส่วนอยู่ที่ 4 : 0 : 1



สามารถมีเสียงในฟิล์มได้มากถึง 8 ภาษา โดยในแต่ละภาษาอาจจะเป็นระบบเสียงสเตอริโอ 2.0 ช่อง (รูปแบบ PCM) หรือ ระบบเสียงรอบทิศทาง (เช่น 4.0, 5.1, 6.1 ช่อง) ในรูปแบบ Dolby Digital (AC-3) หรือ Digital Theater System (DTS)

มีคำบรรยาย (Subtitle) ได้มากสูงสุดถึง 32 ภาษา

ภาพยนตร์ดีวีดีบางแผ่นนั้น สามารถเปลี่ยนมุมกล้องได้ด้วย (Multiangle)

ทำภาพนิ่งได้สมบูรณ์เหมือนภาพสไลด์

ควบคุมระดับสิทธิการเล่น (Parental Lock)

มีรหัสพื้นที่ใช้งานเฉพาะพื้นที่กำหนด (Regional Codes)




แฟลชไดร์



      Flash Drive (หรือที่หลายคนเรียก Handy Drive, Thumb Drive, USB Drive)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือไฟล์จากคอมพิวเตอร์ มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา สะดวกในการพกพาติดตัว แต่ในขณะเดียวกันมีความจุสูง สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมากตั้งแต่ 128 MB ถึง 4 GB และขนาดความจุข้อมูลก็ได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ


Flash Drive เป็นอุปกรณ์นวัตกรรม IT ที่ในอนาคตทุกคนจะต้องมีและใช้ในชีวิตประจำวันอยู่ตลอดเวลา เพราะมีคุณสมบัติที่โดดเด่นตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน และมีประโยชน์ที่สำคัญที่สุดคือ:


    •  ความจุข้อมูลสูง ตั้งแต่ 128 MB ถึง 4 GB
    •  ใช้เก็บข้อมูลได้ทุกประเภท ทั้งไฟล์ข้อมูล, เอกสาร, พรีเซ็นเตชั่นสไลด์, เพลง MP3, รูปภาพดิจิตอล, วีดีโอ, และอื่นๆ
    •  สามารถใช้ได้ทันทีกับคอมพิวเตอร์และโน็ตบุ๊ค ทุกเครื่องทุกระบบ
    •  สามารถใช้ได้กับ Windows, Linux, Apple iMac, Apple iBook
    •  สะดวกในการใช้งาน เพียงแค่เสียบ Flash Drive เข้าช่องต่อ USB
    •  ใช้งานง่าย คุณสามารถทำการเขียน/อ่าน/ลบ/แก้ไข ข้อมูลในนั้นได้โดยตรงเหมือนกับฮาร์ดดิสไดร์ฟปกติ
    •  มีความทนทานสูง ทั้งภายในและภายนอก
    •  เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่สร้างจากเทคโนโลยีที่มีความทนทานสูงที่สุดในปัจจุบัน Solid-State Storage Technology
    •  เวลาใช้งาน ข้อมูลของคุณจะปลอดภัยไม่ว่าจะเกิดการตกหล่น กระแทก หรือขูดขีด
    •  มีขนาดเล็ก บาง เบา สามารถพกติดตัวได้สะดวก
    •  ใช้เล่นเพลง MP3 ได้ (เฉพาะรุ่นที่มี MP3 Player)
   

                                   




ฮาร์ดดิสก์

        ข้อมูลที่เก็บลงในฮาร์ดดิสก์จะอยู่บนเซกเตอร์และแทร็ก แทร็กเป็นรูปวงกลม ส่วนเซกเตอร์เป็นเสี้ยวหนึ่งของวงกลม อยู่ภายในแทร็กดังรูป แทร็กแสดงด้วยสีเหลือง ส่วนเซกเตอร์แสดงด้วยสีแดง ภายในเซกเตอร์จะมีจำนวนไบต์คงที่ ยกตัวอย่างเช่น 256 ถึง 512 ขึ้นอยู่กับว่าระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์จะจัดการแบ่งในลักษณะใด เซกเตอร์หลายๆ เซกเตอร์รวมกันเรียกว่า คลัสเตอร์ (Clusters) ขั้นตอน ฟอร์แมต ที่เรียกว่า การฟอร์แมตระดับต่ำ (Low -level format ) เป็นการสร้างแทร็กและเซกเตอร์ใหม่ ส่วนการฟอร์แมตระดับสูง (High-level format) ไม่ได้ไปยุ่งกับแทร็กหรือเซกเตอร์ แต่เป็นการเขียน FAT ซึ่งเป็นการเตรียมดิสก์เพื่อที่เก็บข้อมูลเท่านั้น


 

ซีดี

       ภายในซีดีรอมจะแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์เหมือนกับแผ่นดิสก์ แต่เซ็กเตอร์ในซีดีรอมจะมีขนาดเท่ากันทุกเซ็กเตอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น เมื่อไดรฟ์ซีดีรอมเริ่มทำงานมอเตอร์จะเริ่มหมุนด้วยความเร็ว หลายค่า ทั้งนี้เพื่อให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอมคงที่สม่ำเสมอทุกเซ็กเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเซ็กเตอร์ ที่อยู่รอบนอกวงในก็ตาม จากนั้นแสงเลเซอร์จะฉายลงซีดีรอม โดยลำแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตำแหน่งได้ โดยการทำงานของขดลวด ลำแสงเลเซอร์จะทะลุผ่านไปที่ซีดีรอมแล้วถูกสะท้อนกลับ ที่ผิวหน้าของซีดีรอมจะเป็น หลุมเป็นบ่อ ส่วนที่เป็นหลุมลงไปเรียก พิต สำหรับบริเวณที่ไม่มีการเจาะลึกลงไปเรียก "แลนด์" ผิวสองรูปแบบนี้เราใช้แทนการเก็บข้อมูลในรูปแบบของ 1 และ 0 แสงเมื่อถูกพิตจะกระจายไปไม่สะท้อนกลับ แต่เมื่อแสงถูกเลนส์จะสะท้อนกลับผ่านแท่งปริซึม จากนั้นหักเหผ่านแท่งปริซึมไปยังตัวตรวจจับแสงอีกที ทุกๆช่วงของลำแสงที่กระทบตัวตรวจจับแสงจะกำเนิดแรงดันไฟฟ้า หรือเกิด 1 และ 0 ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ส่วนการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีรอมนั้นต้องใช้แสงเลเซอร์เช่นกัน โดยมีลำแสงเลเซอร์จากหัวบันทึกของเครื่อง บันทึกข้อมูลส่องไปกระทบพื้นผิวหน้าของแผ่น ถ้าส่องไปกระทบบริเวณใดจะทำให้บริเวณนั้นเป็นหลุมขนาดเล็ก บริเวณทีไม่ถูกบันทึกจะมีลักษณะเป็นพื้นเรียบสลับกันไปเรื่อยๆตลอดทั้งแผ่น


ไมโครชิพ

     “เช่นเดียวกับเครื่องบิน ที่ครั้งหนึ่งเราเคยมีจินตนาการ ในการเอาชนะกำแพงเสียง และทรานซิสเตอร์ที่ทำจากซิลิกอน (silicon-based transistor) เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่คนต้องการทำให้มีความเร็วได้ถึง 200 จิกกะเฮิร์ทซ์ (GHZ) นั่นคือคำกล่าวของ นายเบอร์นาร์ด เมเยอร์สัน รองประธานบริษัท IBM ซึ่งกล่าวเนื่องในการประกาศตัว คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลก ที่ใช้ silicon-based transistor ทำไมโครชิพ โดย IBM คาดว่าทรานซิสเตอร์ใหม่นี้ ทำให้ชิพสำหรับการสื่อสารมีความเร็วถึง 100 GHZ ภายใน 2 ปีข้างหน้า ความเร็วในระดับนี้สูงกว่า Intel Pentium 4 microchip ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายใน personal computer ถึง 100 เท่า
    ทรานซิสเตอร์ดังกล่าว ประกอบด้วย การปรับปรุงการออกแบบ และเทคโนโลยีซิลิกอนเจอมาเนียม (SiGe) เพื่อให้ความเร็วถึง 210 GHZ ขณะที่ใช้กระแสไฟฟ้าเพียง 1 มิลลิแอมป์ สิ่งนี้เป็นการปรับปรุงคุณภาพถึง 80% และลดการใช้พลังงานถึง 50%
     ความเร็วของทรานซิสเตอร์ ส่วนใหญ่แล้ว ถูกกำหนดด้วย ความเร็วของกระแสไฟฟ้าที่ผ่านตัวทรานซิสเตอร์ เพราะฉะนั้นสิ่งนี้ขึ้นอยู่กับ วัสดุที่ใช้ทำทรานซิสเตอร์ และระยะทางที่ไฟฟ้าไหลผ่าน ทรานซิสเตอร์มาตรฐาน ทำจากซิลิกอนธรรมดา ก่อนหน้านี้เชื่อกันว่าวัสดุที่มีราคาแพงอย่าง แกลเลียมอาร์เซไนด์ หรืออินเดียมฟอสไฟด์ จำเป็นในการเพิ่มกำลัง และความเร็วของไมโครชิพ  แต่นักออกแบบชิพพบว่า ไม่สามารถทำวงจรไฟฟ้า ให้เล็กกว่าซิลิกอนชิพได้ ดังนั้นด้วยเทคโนโลยีใหม่ ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้วัสดุที่มีราคาแพง เพื่อไปให้ถึงความเร็ว 210 GHZ




วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554